โปสเตอร์ (poster) พิมพ์
วันพฤหัสบดีที่ 03 กันยายน 2009 เวลา 12:55 น.


โปสเตอร์ คือ ภาพขนาดใหญ่พิมพ์บนกระดาษ ออกแบบเพื่อใช้ติดหรือแขวนบนผนังหรือกำแพง โปสเตอร์อาจจะเป็นภาพพิมพ์และ/หรือภาพเขียน หรืออาจจะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ จุดประสงค์ก็เพื่อทำให้เตะตาผู้ดูและสื่อสารข้อมูล โปสเตอร์อาจจะใช้สอยได้หลายประการ แต่ส่วนใหญ่มักจะใช้ในการเผยแพร่เพื่อการประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะการโฆษณางานแสดงศิลปะ, งานดนตรี หรือภาพยนตร์, การโฆษณาชวนเชื่อ, หรือในการสื่อสารที่ต้องการสื่อสารความเชื่อต่อคนกลุ่มใหญ่


ประโยชน์ของโปสเตอร์อาจมีหลายจุดประสงค์

โดยส่วนมากจะเป็นเครื่องมือในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เช่น งานดนตรี ภาพยนตร์ และในบางครั้งก็ผลิตมาเพื่อใช้ในการศึกษาหรือเป็นสื่อการสอน

นอก จากนั้นโปสเตอร์ยังใช้ในการพิมพ์ภาพจิตรกรรมของศิลปินคนสำคัญๆหรือภาพถ่าย เพื่อใช้ในการตกแต่ง ซึ่งกลายมาเป็นศิลปะการค้าที่ทำรายได้ดีให้ทั้งพิพิธภัณฑ์และบริษัทการค้า หรือร้านทางอินเทอร์เน็ต เช่นภาพเขียนของ โคลด โมเนท์ หรือ เลโอนาร์โด ดา วินชี หรืองานของช่างภาพอเมริกัน โรเบิร์ต เมเปิลธอร์พ (Robert Mapplethorpe)

งาน ศิลปะการสร้างโปสเตอร์เริ่มเมื่อราวคริสต์ศตวรรษ 1890 โดยจิตรกรชาวฝรั่งเศสและเผยแพร่ไปทั่วยุโรป ศิลปินคนสำคัญที่สุดที่ริเริ่มความนิยมในการสร้างโปสเตอร์ก็คือ อองรี เดอ ทูลูส-โลเทรค และ จูลส์ เชเรท์ (Jules Chéret)

จูลส์ เชเรท์ ถือกันว่าเป็นบิดาแห่งการโฆษณาด้วยป้าย คนส่วนใหญ่ที่สะสมโปสเตอร์ และโปสเตอร์ที่มีชื่อเสียง นักสะสมโปสเตอร์จะเก็บโปสเตอร์เก่าโดยมักจะใส่กรอบรูปและมีแผ่นรองหลังอย่าง ดี ขนาดโปสเตอร์ที่นิยมกันโดยทั่วไปอยู่ที่ 24x35 นิ้ว แต่โปสเตอร์ก็มีหลายขนาดหลากหลาย และโปสเตอร์ขนาดเล็กที่มีไว้โฆษณาจะเรียกว่า แฮนด์บิลล์ หรือ "ใบปลิว" (flyer)


องค์ประกอบของภาพโปสเตอร์โฆษณา

1. รูปภาพ(Picture)
2. พาดหัว (Headline)
3. พาดหัวรอง (Sub headline)
4. ข้อความบอกรายละเอียด (Body text)
5. ข้อความพิสูจน์กล่าวอ้าง (Proof)
6. ข้อความปิดท้าย (Closing)
7. ผู้พิมพ์และโฆษณา (Publishers)

............................................................................


1. รูปภาพ (Picture)
รูปภาพมีบทบาทและความสำคัญของการสื่อความหมายด้วยภาพมาก ซึ่งสามารถจำแนกข้อเด่นได้ดังนี้

- สะดุดตา
- น่าสนใจ
- สื่อความหมาย
- ประทับใจ


2.พาดหัว (Headline)
ใน การเขียนข้อความโฆษณา จำเป็นจะต้องมีพาดหัวเสมอเพราะพาดหัวเป็นส่วนที่เด่นที่สุดในประเภทของข้อ ความโฆษณา มีไว้เพื่อให้สะดุดตาสะดุดใจชวนให้ติดตามอ่านเรื่องราวต่อไป ลักษณะของพาดหัวที่ดี ควรจะมีขนาดตัวอักษรโตหรือเด่น เป็นข้อความที่สั้น กะทัดรัด ชวนให้น่าคดหรือน่าติดตามอ่านต่อไป

3. พาดหัวรอง (Subheadline or Subcaption)
คือ ข้อความที่มีขนาดและความสำคัญรองลงมาจากพาดหัว หรือในกรณีที่พาดหัวเป็นประโยคยาว ๆ ทำให้ไม่เด่นไม่สะดุดตา อาจจะตัดทอนตอนใดตอนหนึ่งลงมาให้เป็นพาดหัวรองก็ได้ โดยลดให้ตัวอักษรมีขนาดรองลงมาจากพาดหัว ถ้าเป็นพาดหัวประเภทอยากรู้อยากเห็นหรือแบบฉงน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อ่านสนเท่ห์หรือประหลาดใจ อาจจะต้องใช้พาดหัวรองทำหน้าที่ขยายความจากพาดหัวให้เข้าใจเพิ่มขึ้น


4. ข้อความบอกรายละเอียด (ฺBody text)
สำหรับ สินค้าใหม่ที่ประชาชนยังไม่รู้ยังไม่เข้าใจประโยชน์ว่าใช้ทำอะไร ใช้อย่างไร หรือรู้จักแล้วแต่การโฆษณาต้องการเน้นให้ถึงประโยชน์เพื่อการจูงใจซื้อ จึงควรชี้ให้เห็นว่าสินค้านี้ให้ประโยชน์คุ้มค่าอย่างไร แต่ถ้าเป็นสินค้าที่รู้จักกันดีโดยทั่วไป อาจจะไม่จำเป็นต้องเน้นประโยชน์ก็ได้ เพื่อให้พื้นที่โฆษณาดูโปร่งตา ไม่รกไปด้วยข้อความ ซึ่งจะดูดีกว่าโฆษณาที่แน่นไปทั้งภาพด้วยเรื่องราวต่างๆ เต็มพื้นที่
ประโยชน์ อื่น ๆ หรือรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า ถ้าสินค้ามีคุณสมบัติพิเศษ หรือมีประโยชน์เหนือกว่าสินค้าธรรมดาโดยทั่วไป การเขียนข้อความโฆษณาจึงควรมีรายละเอียดส่วนนี้ไว้ด้วย เพื่อช่วยสร้างความสนใจเป็นพิเศษแก่ผู้อ่าน เช่น เครื่องดูดฝุ่น นอกจากใช้ดูดฝุ่นแล้วยังสามารถใช้เป่าลมได้อีกด้วย


5. ข้อความพิสูจน์ข้ออ้าง (Proof)
ข้อความส่วนนี้มีไว้เพื่อสร้างความเชื่อถือ หรือช่วยให้เกิดความมั่นใจ ในสินค้า โดยมักจะอ้างอิงบุคคลที่สามารถอ้างอิงได้ตั้งแต่บุคคลธรรมดาทั่ว ๆ ไปที่ใช้สินค้าหรือบริการ แต่ถ้าเป็นดาราหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับและรู้จักกันดีในสังคม ก็จะได้รับความสนใจและได้รับความเชื่อถือเป็นพิเศษโดยเฉพาะคนเด่นคนดังใน สาขาอาชีพนั้นๆ เช่น นักกีฬาที่มีชื่อเสียงระดับชาติ หรือระดับโลก โฆษณาสินค้าที่เกี่ยวกับกีฬาประเภทนั้นๆ ผู้มีชื่อเสียงเกี่ยวกับอาหารการกิน แนะนำเรื่องอาหารหรือเกี่ยวกับอาหาร

6. ข้อความลงท้าย (Closing)
เป็นข้อความจบโฆษณา โดยสรุปให้ทราบว่า ผู้อ่านควรจะทำอย่างไร เช่นให้ตัดสินใจซื้อ ซื้อได้ที่ไหน ซื้อโดยวิธีใด ใคนเป็นผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย และคำขวัญ ก็เป็นที่นิยมในส่วนข้อความปิดท้าย เป็นต้น


7. ผู้รับผิดชอบหรือผู้พิมพ์และโฆษณา (Publishers)


.........................................................

ปรับปรุงจาก........“โครงร่างข้อความโฆษณา” โดย อ.สุดเขต หนูรอด
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/tech04/59/advertising/credit.html

.........................................................

ข้อมูลในการผลิตงานพิมพ์โปสเตอร์
เก็บมาจาก : http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538763136

• รูปแบบและรายละเอียดของงานพิมพ์โปสเตอร์
งานพิมพ์โปสเตอร์จะมีรูปร่างเป็นกระดาษแผ่นเดียว กระดาษที่ใช้ไม่หนามาก การพิมพ์บนโปสเตอร์จะมีที่พิมพ์เพียงด้านเดียว

• ขนาดของงานพิมพ์โปสเตอร์ขนาด
15”x 21”, 10.25”x 15” , 17”x 23.5”(A2), 11.75”x 17”(A3), 8.25”x 11.75”(A4)
สำหรับขนาดอื่นที่มิได้กล่าวไว้ อาจทำให้มีการเสียเศษแผ่นพิมพ์


• กระดาษที่ใช้สำหรับงานพิมพ์โปสเตอร์
กระดาษปอนด์ 100 แกรมขึ้นไปกระดาษอาร์ตมัน/ด้าน 120 แกรมขึ้นไป

• การพิมพ์และตกแต่งผิวบนของงานพิมพ์โปสเตอร์
มี การพิมพ์โปสเตอร์แบบ 1 สี 2 สี 3 สี 4 สี หรือมากกว่า จะใช้แม่สี 4 สี (CMYK) หรือสีพิเศษก็ได้ มักพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ท ระบบอิ้งค์เจ็ทหรือระบบดิจิตอลพิมพ์หน้าเดียวสามารถพิมพ์โปสเตอร์เคลือบ UV เคลือบพลาสติกเงา หรือเคลือบพลาสติกด้าน เคลือบ Spot UV ปั๊มนูน (Embossing) ปั๊มทองหรือฟิล์ม/ฟอยล์สีต่าง ๆ (Hot Stamping)

 




Poster Link.................................................................

http://www.internationalposter.com/ ....รวมงาน poster
http://www.posterpage.ch/exhib/ex142djp/ex142djp.htm .... student poster
http://www.allposters.com/ ....รวมโปสเตอร์ หลายชนิด หลากรูปแบบ มากกว่า 500,000 ชิ้น

http://www.impawards.com/ …โปสเตอร์หนังต่างประเทศ ตั้งแต่ปี 2000 - 2009
http://ffffound.com/ ....รวมงานสร้างสรรค์ด้านภาพประกอบ เพื่อใช้ในงานโฆษณา
http://ryan.library.cmu.edu/fmi/xsl/swiss7/tour.xsl?-view ....รูปแบบของ Swiss Poster
http://www.flickr.com/photos/20745656@N00/sets/72157617966230965/ .....ตัวอย่างงาน The International Typographic Style
http://www.flickr.com/photos/20745656@N00/sets/72157618052021378/ ....ตัวอย่างงานระบบตาราง

 


บทความโดย noontoon (2) มนูญ ไชยสมบูรณ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
3 September 2009