Home » รวมเรื่องราวทั่วไป » เดินไปถ่ายไป » หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (Bangkok Art and Culture Centre)
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (Bangkok Art and Culture Centre) พิมพ์ อีเมล
เดินไปถ่ายไป
วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฏาคม 2009 เวลา 04:56 น.


หุ่นไฟเบอร์ขนาดยักษ์ หน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
Dollar 009 โดย LoLay

 

เที่ยงวันพฤหัสบดี ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ตั้งใจจะไปชมผลงานของรุ่นพี่ๆ ครุศิลป์ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (Bangkok Art and Culture Centre) เพิ่งไปเป็นครั้งแรก ทั้งๆ ที่ อาคารนี้เปิดมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ ผมเดินไปตาม skywalk รถไฟฟ้า ว่าจะไปหาอะไรทานในนั้น ถามจากพนักงานตรวจกระเป๋า ที่ประตูทางเข้า ได้ข้อมูลว่า ไม่มีร้านอาหาร หรือ ร้านน้ำ หรือ กาแฟ ขายแต่อย่างใด พิลึกดี ??? ไม่เป็นไร เดินย้อนกลับไปหาอะไรรองท้องในมาบุญครองก่อน

 

 


ตัวอาคารภายนอก สวยงามดี (คลิกดูรูปใหญ่)


หลังจากเติมพลังแล้วกลับมาใหม่ บริเวณทางเชื่อมนั้น มีงานแสดง เทศกาล ปล่อยแสง๓ คิด ทำ กิน ตอนเด็กฉลาดชาติเจริญ โดย TCDC ซึ่งจัดเหมือนตู้ window display เป็นพื้นที่แนวตั้งเล็กๆ เรียงติดๆ กันไป สำหรับให้แต่ละคนมาจัดแสดงผลงานในนั้น


เทศกาล ปล่อยแสง๓ คิด ทำ กิน ตอนเด็กฉลาดชาติเจริญ โดย TCDC (คลิกดูรูปใหญ่)

 

ภายในอาคารหอศิลป ออกแบบโดยใช้ความสว่างจากแสงธรรมชาติส่องผ่านหลังคา และจากกระจกด้านข้าง พื้นที่ตรงกลางโล่ง ห้องแสดงงาน อยู่ที่ชั้น ๗-๙ ใช้ทางเดินลาด เป็นตัวเชื่อมระหว่างชั้น เพื่อให้ชมงานได้ต่อเนื่อง (ที่เป็นบันไดปกติก็มี) สวยงามมากครับ ไม่แพ้มิวเซียมต่างประเทศเลย อ่านจากวิกิพีเดีย บริษัทรับออกแบบคือ บริษัทสถาปนิก โรเบิร์ต จีบุย


ถ้าเดินเข้ามาจาก skywalk ต้องขึ้นบันได้ครึ่งชั้น มาโผล่ที่ ชั้น ๓

 


เส้นสายภายในอาคารเป็นวงโค้งสวยงาม สว่างด้วยแสงธรรมชาติ ที่ไม่จ้าเกินไป

 


ป้ายบอก ชั้นที่จัดแสดงงาน

 


มองจากชั้นบนลงไป

 


ทางเดินลาด เพื่อความต่อเนื่องในการชมงาน ระหว่างชั้น ๗-๙

 

มิรอช้า ขึ้นบันไดเลื่อน แบบเดินวนอ้อม ไปจนถึงชั้น ๖
ระหว่างชั้น ๒ ไปถึงชั้น ๕ มีห้องกระจกโล่ง ว่างเปล่า เต็มไปหมด o_O! (มีเอเย่นต์สายการบินเช่าพื้นที่หนึ่งห้อง กับจัดแสดงนิทรรศการความสัมพันธ์ไทยฟิลิปปินส์ สองสามห้อง กับงานภาพถ่ายอีกสองห้อง) เกิดอะไรขึ้น กับการบริหารจัดการสถานที่แห่งนี้ ??? ถึงได้มีห้องโล่งว่างเปล่า เหลือทิ้งร้าง มากมายขนาดนี้? ทำเลก็ยอดเยี่ยม กลางกรุง เปิดบริการมาก็ร่วมปี ยังหาผู้เช่าไม่ได้เลยหรือ? และแทนที่จะปล่อยร้าง น่าจะหาผลงานมาแสดงให้เต็มทุกห้อง คงดูดีกว่านี้ เห็นแล้วน่าสังเวช เกิดอะไรขึ้นครับ มีใครให้ข้อมูลได้บ้าง

 

ชั้น ๖ เป็นที่ติดต่อ ฝากกระเป๋าสัมภาระ พากล้องเข้าไปได้ แต่ห้ามใช้แฟลช

ชั้น ๗ แสดงผลงาน Spring in White ฤดูใบไม้ผลิสีขาว มีผลงานทั้งของคนต่างประเทศ และคนไทย

 


ภาพผลงาน Spring in White ฤดูใบไม้ผลิสีขาว บางส่วน (คลิกดูรูปใหญ่)

เดินต่อไป จะเห็นผลงานของ รุ่นพี่ๆ ครุศิลป์ครับ

 



ผลงานของ พี่จ๋าย(18) สุรชัย เอกพลากร



ผลงาน 20/20 hindsight พี่ต้น(15) กระสินธุ์ อินสว่าง

 


ผลงาน momento 2552 คาถาชินบัญชร พี่เสือป๊อก (21) สุจินต์ วัฒนวงชัย

 


ผลงาน พี่จิระพัฒน์ พิตรปรีชา (7)

 


งานติดตั้งชิ้นนี้ กั้นสายสิญจน์เป็นทางเดินเข้าไปตักน้ำใส่กระโหลกชะโงกดูเงา :-) (ไม่ได้จดชื่อศิลปินมาครับ)

 


ผลงานอื่นๆ

 


ผลงานภาพถ่าย "แสงแหลมแทงเงา หมายเลข๑"
(ขอแอบเนียน แสดงงานด้วย)

 


ผลงานภาพถ่าย "ฟ้าใสในวงกลม หมายเลข๑"
(แอบเนียน)

 


ผลงานภาพถ่าย "คราบน้ำกับปลั๊กไฟ in white หมายเลข๑"
สามภาพล่างนี่ ผมขอร่วมแจม (อยากมีผลงานแสดงบ้าง)
:-D ฮาๆ นะครับ อย่าซีเรียส

 

รออ่านตอนต่อไปนะครับ  つづく

 

นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย ฤดูใบไม้ผลิสีขาว
Springs in White

วันเวลา : 18 มิถุนายน – 15 กรกฎาคม 2552
สถานที่ : ชั้น 7 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

นิทรรศการ ศิลปะร่วมสมัย ฤดูใบไม้ผลิสีขาว นำเสนอผลงานของศิลปินอิตาเลียน และไทย กว่า 20 คน อาทิ ฟาบริซิโอ คอร์เนลี คาร์โล แวร์นาร์ดินี เปาโล ราดี วิชัย สิทธิรัตน์ อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ จิระพัฒน์ พิตรปรีชา สุรชัย เอกพลากร ฯลฯ ภายใต้แนวคิดที่ว่า “สีขาว” คือพื้นฐานของทุกสี เชื่อมโยงสู่แสง และบ่อเกิดแห่งชีวิต ศิลปินอิตาเลียนกลุ่มนี้ ประสบความสำเร็จสูงสุดที่ นิวเดลี และกัลกัตตาในปีที่แล้ว
มิถุนายนนี้ กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ใหม่ เปิดกว้างข้ามพรมแดนระหว่างนวัตกรรม และขนบประเพณีผ่านทัศนะของศิลปะร่วมสมัย ไทย และอิตาลี

 

(ข้อมูลจาก เว็บไซท์หอศิลป์กรุงเทพฯ http://www.bacc.or.th/exhibition/2552/009 )

หอศิลป์ ปิดวันจันทร์ , เปิดทำการ 10:00-21:00

 

 

 


 

ข้อมูลเพิ่มเติม

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2009 เวลา 01:22 น.
 
ลิขสิทธิ์ © 2021 Art-Ed Chula. สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
Joomla! เป็นซอฟท์แวร์เสรีภายใต้ลิขสิทธิ์ GNU/GPL License.
เว็บนี้ขับเคลื่อนด้วย จูมล่าลายไทย